อุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษา

การดูแลลูกจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา

โลกโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นกูเกิ้ล เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และยูทูบ ต่างกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคดิจิตอลของเราไปแล้วเรียบร้อยแล้ว การห้ามไม่ให้ลูกเล่น โซเชียลมีเดียเหล่านี้ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้เพราะเป็นไปตามยุคสมัย แต่เราจะอยู่ในกลุ่มพ่อแม่แบบไหนนั้น มาดูผลสำรวจกัน

เป็นผลของการสำรวจสรุปกระบวนความคิดของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ในภูมิภาคเอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ซึ่งจะสะท้อนวิธีการที่พ่อแม่ให้ความหมายต่อการเรียนรู้ของลูก การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพ่อแม่ และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือลูกในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูกด้วย

1. กระบวนความคิดแบบกังวล (The Concerned)
พ่อแม่กลุ่มแรกนี้สนใจและกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษาของลูก พ่อแม่จะไม่ยอมให้ลูกเล่นโซเชี่ยลใดๆ เพราะกังวลถึงผลกระทบที่เทคโนโลยี จะส่งผลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในด้านสังคมและการเข้าสังคมของลูก พ่อแม่กลุ่ม The Concerned นี้จะให้ความสำคัญกับวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเชื่อว่าเด็กๆ จะเสียสมาธิได้ง่าย เมื่อต้องอ่านเนื้อหาการเรียนบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเชื่อว่าเด็กน่าจะได้เรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งพิมพ์หรือตำรา

2. กระบวนความคิดแบบสัจนิยม (The Realist)
พ่อแม่ในกลุ่มนี้ ให้คุณค่ากับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย พวกเขาพร้อมที่จะเปิดรับ เน้นเรื่องการปฏิบัติ ซึ่งต้องการให้ลูกได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง พวกเขาอยากให้ลูกๆ พัฒนาทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้นอกเหนือจากในห้องเรียนและจะช่วยให้พวกเขาเป็นเลิศ กลุ่มพ่อแม่ในลักษณะนี้จะชื่นชอบอุปกรณ์ดิจิทัล เนื่องจากสามารถช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้ไอเดียใหม่ๆ ได้

3. กระบวนความคิดตามขนบ (The Typical)
พ่อแม่ในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผู้ปกครองลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะยอมรับว่า การเรียนรู้ทั้งทางดิจิทัลและจากสิ่งพิมพ์เหมาะสม และให้ผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาทักษะและสติปัญญาด้านคำศัพท์และความเข้าใจ

อุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษา

4. กระบวนความคิดที่เน้นประสบความสำเร็จ (The Overachiever)
พ่อแม่กลุ่มนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Tiger Parents มีลักษณะของการรแสดงความต้องการเข้าไปช่วยผลักดันให้เด็กเรียนรู้ ควบคุมเนื้อหา และเส้นทางของการเรียนรู้ ให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าอุปกรณ์ดิจิทัลจะช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและไอเดียต่างๆ ในขณะที่สื่อการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งพิมพ์และกิจกรรมทางกายภาพช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

5. กระบวนความคิดแบบปลีกตัว (The Detached)
พ่อแม่กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เงียบและเก็บตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม แม้พวกเขาใช้เวลาเรียนรู้กับลูกน้อยที่สุด แต่พวกเขากระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม ซึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่เป็นคนที่เก็บตัว จึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เประเภทท่องจำ การติวเสริม และร่วมกิจกรรมทางสังคม นอกจากนี้ ในด้านการสร้างความผูกพัน พวกเขาต้องการควบคุมเนื้อหาและเส้นทางการเรียนรู้ของลูกๆ โดยแม่จะมีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกมากกว่าฝ่ายพ่อ

หากสามารถเป็นพ่อแม่ได้ทุกกลุ่ม และใช้อุปกรณ์ดิจิทัลไปตามสถานการณ์จะดีกว่าเป็นแบบใดแบบหนึ่งไปเลย หากจะให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต ก็ควรรู้จักวิธีดูแลสายตาของลูกในยุคดิจิทัล ดังนี้เลย

1. ให้เวลาลูกเล่นแท็บเล็ตแค่ 2 ชม. ต่อวัน เท่านั้น และต้องพักสายตาทุกๆ 20 นาที ด้วย

2. อย่าจ้องหน้าจอใกล้เกินไป ให้เว้นระยะห่าง ประมาณ 1 ศอกของพ่อ

3. ปรับความสว่างที่หน้าจอให้พอเหมาะ และห้ามปิดไฟเล่น

กินผักผลไม้ที่มีวิตามินเอและลูทีนสูง เพราะมีประโยชน์ต่อสายตา เช่น กีวี่ แครอท ผักโขม ผักคะน้า ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง และมะละกอ

เมื่อถึงวัยที่เล่นแท็บเล็ต มือถือ ได้แล้ว เป็นอะไรที่ห้ามยากเรื่องการเรียนรู้ในโลกอินเทอร์เน็ต แต่คุณพ่อกับคุณแม่ก็ต้องรู้วิธีดูแลลูกด้วย

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ johnwolfpup.com

Releated